วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แสดงความคิดเห็นของWeblog

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน
จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม
จากการเรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog มีขอดีอย่างมากมายสะดวกในการใช้สื่อที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ในอนาคตในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนในเวลาที่ออกสังเกตการสอน หรือใช้ในการฝึกสอน รวมที้งสามารถใช้ในการประกอบอาชีพ และเพื่อใช้ในการจัดเก็บผลงานส่วนตัว หรือผลงานจากที่ทำงานได้อย่างเหมาะสมของงานแต่ละชิ้นไว้อย่างเป็นระเบียบ จึงทำให้ใช้WeblogหรือฺBlog มีประโยชน์ในการใช้งาน หากเราใช้ทุกวันสามารถทำให้เราใช้ได้ตลอดไป

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน
คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อที่ 1กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ กรณีเกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ในฐานนะที่ดิฉันเป็นครูพันธ์ใหม่เกี่ยวกับความคิดเห็นของอดีตนายกทักษิณ ซึ่งทุกคนล้วนแต่มีข้อดี ข้อเสีย กันทุกคน เมื่อพิจารณาถึงนายกทักษิณผู้นำประเทศไทย เป็นผู้นำที่มีความสามารถมากมายในหลายๆด้าน อาทิ การนำประเทศให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นจากที่ผ่านมา การครองชีพของประชาชนสูงขึ้น ไม่แบ่งแยกคนรวยคนจนให้สวัสดิการเท่าเทียมกันหมดทุกคน ความคิดที่จะพัฒนาประเทศให้ทันโลกมากขึ้น
สำหรับข้อเสียของนายกทักษิณ เป็นผู้ที่ขายดาวเทียมการสื่อสารของไทยให้สิงคโปร์ การคอรัปชั่นการคดโกงประเทศ นำเงินที่เก็บได้จากประชาชนมาเป็นของตนเอง และหมิ่นพระบรมราชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ประเทศแยกเป็นสองฝ่าย การใช้อำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ในการอำนวยประโยชน์แก่ครอบครัวเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
เมื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียของนายกทักษิณแล้วการนำข้อดีของเขามาสอนนักเรียน เพื่อเป็นแบบอย่างด้านการเป็นผู้นำที่ดีด้านการบริหารประเทศ แต่สำหรับข้อเสียให้ผู้เรียนของรู้ว่าการกระทำของนายกทักษิณ ทำให้ตนเองไม่สามารถอยู่ในแผ่นดินเกิดได
การทำความดี ความชั่วตอนเป็นคนเมื่อตายไปแล้วความดีความชั่วยังคงอยู่ หากคนที่ทำความดี เมื่อตายไปความดีก็ยังปรากฏมีแต่คนสรรเสริญ แต่หากคนที่ทำความชั่วเมื่อตายไปความชั่วยังปรากฎมีคนสาปแช่งนินทาว่าร้ายไม่มีวันจบสิ้น เหมือนนายกทักษิณถึงมีความดีอยู่บ้างแต่ไม่สามารถลบความชั่วที่ได้กระทำลงไป

ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตเมื่อดิฉันสำเร็จการศึกษาไปเป็นครู ดิฉันมีวิธีการปฎิบัติ ดังนี้
1. ต้องสร้างข้อกำหนด ขั้นตอนปฎิบัติอย่างชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระแต่ละเรื่อง
2. ยึดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน และผู้เรียนรับผิดชอบงานพฤติกรรมการเรียนของตนเอง
3. ต้องวางแผนและดำเนินการให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในหลายๆด้าน หากผู้เรียนไม่ให้การร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน
4. สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และเสนอแนะไม่ตำหนิผู้เรียนที่ไม่สนใจ ให้ผู้เรียนคิดถึงการกระทำของตนว่าเหมาะสมหรือไม่
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ผู้เรียนและครูผู้สอนต้องเข้าใจกันไม่มีอคติต่อกัน บรรยากาศสภาพแวดล้อมรอบๆข้างอำนวยในการจัดการเรียนการสอน ทำให้การเรียนการสอนสำเร็จ และสอนกันอย่างเข้าใจ มีความสุขกับการเรียนในรายวิชานั้นๆถึงแม้อาจจะเป็นรายวิชาที่ผู้เรียนไม่ชอบ

ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ดิฉันจะเป็นครูพันธ์ใหม่ต่อไปในอนาคต สำหรับการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้ในรูปแบใหม่ซึ่งเป็นการใช้ weblog จากที่อาจารย์อภิชาตได้สอนนั้นเมื่อดิฉันสำเร็จการศึกษาต่อไปดิฉันจะนำ woblog มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะว่า weblog เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ทันสมัยทำให้ผู้เรียนนั้นเกิดความรู้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น รวมทั้งเป็นเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ดึงดูดความสนใจแก่ผู้เรียน เนื่องจากในสมัยปัจจุบันสื่อในโลกอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสนใจและทันสมัยแก่การค้นคว้าหาข้อมูล

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียน คือ การประกันคุณภาพเป็นการที่ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆตามความหวังของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการบริหารจัดการในชั้นเรียนเรียนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอน ทำให้การเรียนของผู้เรียนและการสอนของครูผู้สอนอย่างมีประสิทธิภาพป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในห้องเรียน ช่วยส่งผลให้ครูสามารถสอนได้อย่างราบรื่น เมื่อรวมเอาการประกันคุณภาพมาเชื่อมโยงต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนทำให้เกิดผล คือ
1. ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเข้าใจสิ่งที่ตนเองเรียนรู้อย่างดีแล้วทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ สนใจในสิ่งที่ตนเองเรียนมากขึ้นซึ่งการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ผู้เรียนมีการกระตือรือร้นในการเรียนของรายวิชาต่างๆ หากบรรยากาศในห้องเรียนเย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก สิ่งแวดล้อมรอบๆข้างดีแล้วผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้จึงทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพ ครั้งถึงเวลาสอบวัดผลความรู้ความสามารถผู้เรียนสามารถทำข้อสอบได้ ได้คะแนนเป็นที่น่าพอใจทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีคุณภาพ
2. ผู้ปกครอง คือผู้ชี้แนะแนวทางของบุตรหลานด้านการศึกษาต่อว่าสถานศึกษาใดมีคุณภาพ และเหมาะสมแก่การเรียนรู้ ซึ่งปัจจุบันนี้สถานศึกษามีอยู่ด้วยกันอย่างมากมาย ก่อนที่ผู้ปกครอง หรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งจะเลือกสถานศึกษาให้แก่บุตรหลานนั้นต้องดูว่าสถานศึกษานั้นได้รับการประกันคุณภาพระดับไหน ซึ่งข้อนี้ส่งผลมาจากผู้เรียน ครูอาจารย์รวมทั้งบรรยากาศ สภาพแวดล้อมต่างๆก่อนที่ผู้ปกครองจะตัดสินใจเลือกสถานศึกษานั้น
3. สถานศึกษา เป็นสถานที่ที่นักเรียนผู้ปกครอง สนใจเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการจัดการบริหารของผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดบรรยากาศในห้องเรียน รวมทั้งการบริหารจัดการภายในโรงเรียน และได้รับการประกันคุณภาพจากการกระทรวงศึกษาธิการว่าโรงเรียนมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ประเมินอาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ ให้อาจารย์ในระดับคะแนนดี เนื่องมาจากหลายๆสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสามารถแจงรายละเอียดของการให้คะแนนระดับดีนี้ด้วยการแยกเป็นข้องดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะ ในรายวิชาการจัดการบริหารในชั้นเรียน คือ
ข้อดี อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งนำเทคโนโลยีสื่อการสอนอิเล็กทรอนิคส์ที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อการสอนที่แตกต่างจากรายวิชาอื่นๆ ซึ่งในรายวิชาที่ผ่านมาอาจารย์อภิชาตจะให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากห้องสมุด อินเตอร์เน็ตเพื่อทำรายงาน แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน แต่จะแตกต่างจากรายวิชาในครั้งนี้ คือ ในครั้งนี้อาจารย์อภิชาติ ได้ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยขึ้น ซึ่งผู้เรียนไม่เคยรู้จักและใช้สื่อการสอนประเภทนี้ในการทำงาน สื่อการสอนประเภทนี้คือ weblog เป็นสื่อที่ทันสมัย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของเราไว้ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้นานและไม่สูญหาย รวมทั้งจัดเก็บรูปภาพในการทำกิจกรรมต่างๆไว้ได้ จะคล้ายๆกับแฟ้มสะสมผลงาน แต่ในแฟ้มจะต้องเก็บผลงานเป็นเอกสารอาจจะสูญหายได้ง่าย และผู้เรียนสามมารถนำไปเก็บรวบรวมได้ทุกวิชา
ข้อเสีย เนื่องจากการสอนโดยใช้webblog ต้องใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งในมหาวิทยาลัยของเราการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งไม่ค่อยสะดวก เพราะว่าสัญญาณอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยมีน้อย ทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ไม่สะดวก รวมทั้งสมาชิกบางคนในห้องไม่มีโน้ตบุ้ค จึงไม่สามารถเรียนรู้ได้สะดวก
ข้อเสนอแนะ ในการจัดการเรียนการสอน โดยต้องใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ต้องมีความเหมาะสมในทุกๆด้านก่อนจะสอนได้ และต้องมีความพร้อมของผู้เรียน สัญญาณอินเตอร์เน็ตต้องไม่ขัดข้อง สามารถใช้สัญาญาณได้ตลอด

การจัดบรรยากาศในห้องเรียน



การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน

บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
จากการสำรวจเอกสารงานวิจัย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2531: ค) ได้ค้นพบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
1.ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2.ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3.ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6.ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1.บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2.บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5.บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน
ได้สรุปผลการวิจัยเรื่องสภาพในปัจจุบันและปัญหาด้านการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาไว้ สรุปได้ว่า บรรยากาศในชั้นเรียนต้องมีลักษณะทางกายภาพที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความสนใจใฝ่รู้และศรัทธาต่อการเรียน นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักเรียนและระหว่างครูกับนักเรียน ความรักและศรัทธาที่ครูและนักเรียนมีต่อกัน การเรียนที่รื่นรมย์ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนได้ดี ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ
1.บรรยากาศทางกายภาพ
2.บรรยากาศทางจิตวิทยา
บรรยากาศทั้ง 2 ประเภทนี้ มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น


บรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere)
บรรยากาศทางกายภาพหรือบรรยากาศทางด้านวัตถุ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาด มีเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น เช่น ห้องเรียนมีขนาดเหมาะสม แสงเข้าถูกทาง และมีแสงสว่างเพียงพอ กระดานดำมีขนาดเหมาะสม โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัยนักเรียน เป็นต้น

การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ
การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
1.การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
1.1 ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
1.2 ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
1.3 ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
1.4 ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
1.5 ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
1.6 แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ


2.การจัดโต๊ะครู
2.1 ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
2.2 ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

3.การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดาน
ดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
3.1 จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
3.2 จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
3.3 จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
3.4 จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

4.การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ
4.1 มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก
4.2 มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป
4.3 ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ
4.4 มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน

5.การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน ได้แก่
5.1 มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม การค้นคว้าหาความรู้ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลาย ๆ ประเภท ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยนบ่อย ๆ การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน
5.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้ เช่น มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ
5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนาผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย
5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สี กาว ฯลฯ ควรจัดไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บไว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง
5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความเรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม
5.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถูให้สะอาดเสมอ

องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่มีความสุข
เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนารอบด้าน และเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่มีความสุขจึงเป็นสิ่งจำเป็น ครูจึงควรได้ทราบถึงองค์ประกอบที่ช่วยให้การเรียนดำเนินไปอย่างมีความสุขซึ่งมี 6 ประการ
1. เด็กแต่ละคนได้รับการยอมรับว่าเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจและสมอง เด็กควรได้มีโอกาสเลือกเรียนตามถนัดและความสนใจ มีโอกาสเลือกอนาคตของตนเอง และมีสิทธิ์ได้รับปฏิบัติจากผู้ใหญ่อย่างมนุษย์คนหนึ่ง
2. ครูมีความเมตตา จริงใจ และอ่อนโยนต่อเด็กทุกคนโดยทั่วถึง มีความเข้าใจในทฤษฎีแห่งพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กทุกคนครูควรให้ความเอาใจใส่ ต่อเด็กทุกคนเท่าเทียมกันมีการเตรียมตัวเพื่อการสอนให้มีคุณภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเด็กให้รู้จักตนเอง รู้จักแก้ปัญหาและเรียนรู้วิธีการนำตังเองไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างมีสติ และเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
3. เด็กเกิดความรักและภูมิใจในตัวเอง รู้จักปรับตัวได้ทุกที่ทุกเวลา รู้จักตัวเอง เห็นคุณค่าของชีวิต และความเป็นมนุษย์ของตน ยอมรับทั้งจุดดีและจุดด้อยของตน รู้จักเกรงใจและให้เกียรติผู้อื่น มีเหตุผลละใจกว้าง พร้อมที่จะดำเนินชีวิตในบทบาทของผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ
4. เด็กแต่ละคนได้มีโอกาสเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ ได้ค้นพบความสามารถของตน ได้เรียนรู้อย่างลึกซึ่งและกว้างไกล เรียนให้เข้าใจและทำได้ รู้เคล็ดลับของการทำสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ และเรียนจนรู้จักวิธีคิด วิธีปฏิบัติของตนในอาชีพนั้น เสมือนเป็นคนที่อยู่ในอาชีพนั้นจริงๆ ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างสร้างสรรค์เพื่อความสุขของตนเองและผู้อื่น
5. เด็กได้รู้จักคิดและพัฒนาความคิดจากความรู้ที่ได้รับขยายวงไปสู่ความรู้ใหม่ เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง อยากศึกษาให้ลึกซึ้งเพิ่มเติม รักการเรียนมีระบบในการเรียนและเห็นประโยชน์ของการเรียนซึ่งไม่ได้ขีดวงจำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่อาจสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่น
6. การเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในบทเรียน แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในสภาพความเป็นจริง เกิดประโยชน์และมีความหมายต่อตัวเขา รู้จักสืบเสาะหาคำตอบ ข้อสงสัยต่างๆได้อย่างมีเหตุผล มีความคิดเป็นของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร รู้วิธีดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และสามารถให้ความช่วยเหลือและแนะนำผู้อื่นได้เมื่อเขาเติบโตขึ้น ครูจึงต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นครูอย่างแท้จริง ทั้งด้านคุณลักษณะนิสัย จิตใจ และด้านความรู้ความสามารถที่จะจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดพัฒนา มีความสมบูรณ์ทั้งด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และด้านจิตใจ เพื่อเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป
ข้อควรคำนึงในการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียน ผู้สอนได้จัดการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงข้อต่อไปนี้
1. บทเรียนเริ่มจากง่ายไปยาก โดยคำนึงถึงวุฒิภาวะและความสามารถในการรับรู้ของเด็กแต่ละวัย มีความต่อเนื่องในเนื้อหาวิชาและขยายวงไปสู่ความรู้แขนงอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจต่อชีวิตและโลกรอบตัว
2. วิธีการเรียนสนุกไม่น่าเบื่อ และตอบสนองความสนใจใคร่รู้ของนักเรียน การนำเสนอเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ยัดเยียดหรือกดดัน เนื้อหาที่เรียนไม่มากเกินไปจนเด็กหมดความสนใจ
3. ทุกขั้นตอนของการเรียนรู้มุ่งพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการคิดในแนวต่างๆของเด็ก รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ จากการประมวลผลข้อมูลและเหตุผลต่างๆ และคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
4. แนวการเรียนรู้ควรสัมพันธ์ และสอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสความงามและความเป็นไปของสรรพสิ่งรอบตัว บทเรียนไม่จำกัดสถานที่ หรือเวลา และทุกคนมีสิทธิ์เรียนรู้เท่าเทียมกัน
5. มีกิจกรรมหลากหลาย สนุก ชวนให้นักเรียนเกิดความสนใจต่อบทเรียนนั้นๆ เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ใช้ภาษาที่นุ่มนวลให้กำลังใจและเป็นไปในทางสร้างสรรค์
6. สื่อที่ใช้ประกอบการเรียน เร้าใจให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุผลตามเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจน คือ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จนรู้ชัด เรียนจนทำได้ และเรียนเพื่อจะเป็น
7. การประเมินผล มุ่งเน้นพัฒนาการของนักเรียนในภาพรวมมากกว่าจะพิจารณาจากผลการทดสอบทางวิชาการ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประเมินผลตนเองด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ครูเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ครูจึงควรต้องมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ด้านบุคลิกภาพ
1.1 มีกิริยาวาจาเหมาะสม
1.2 อารมณ์ดี มีเมตตา
1.3 ใช้ภาษาแจ่มชัด
1.4 ขจัดความลำเอียง
1.5 หลีกเลี่ยงการตำหนิ
1.6 หมั่นคิดริเริ่มสร้างสรรค์
1.7 อารมณ์ขันแทรกสร้าง
1.8 สร้างสัมพันธ์ฉันท์มิตร
1.9 ติดตามทันโลกเสมอ
1.10 ค้นให้เจอความสามารถเด็ก
2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2.1 เกม เพลง นำมาใช้
2.2 ให้เล่านิทานสนุก
2.3 ปลุกใจให้หมั่นคิด
2.4 ไม่เกาะติดในห้องเรียน
2.5 ผลัดเปลี่ยนเวียนรายงาน
2.6 บูรณาการทุกวิชา
2.7 สรรหาสื่อหลากหลาย
2.8 เลิกบรรยายให้ปฏิบัติ
2.9 จัดตามหลัก Child-Centered
สรุป
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดการในชั้นเรียน


การจัดชั้นเรียนที่ดี

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนใน
ด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง
บรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น
บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
เพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้
1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ
2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ
3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง
4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ
5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ
6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

รูปแบบการจัดชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ
1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา
2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรม

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติบุคคล



ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 “คุณชายฮีโร่” ยอมเป็นตัวประกันให้กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่านำตัวขึ้น ฮ. ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี…
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” หรือว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ในฐานะรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (พระโอรสใน จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) และหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ณ ถลาง) “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ มีชื่อเล่นว่า “คุณชายหมู”
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ สมรสกับคุณนุชวดี บำรุงตระกูล มีบุตรคือ หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร และสมรสกับ คุณสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (ภมรบุตร) มีบุตรคือ หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร
ปัจจุบัน “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ พำนักอยู่ที่วังสวนผักกาด และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์

การศึกษา
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน Cheam (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าโรงเรียน) และโรงเรียน Rugby ประเทศอังกฤษ (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้า House หรือสี และได้รับทุนการศึกษาเรียนดีเด่น) (พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2513)
ระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 และปริญญาโท ณ Pembroke College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เกียรตินิยม สาขา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE) (พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2520)
ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกาทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2521)
ประวัติการทำงาน
- รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2539
- เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2536)
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534) และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะ กรรมาธิการกิจการรัฐสภา (พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534)
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2532)
- เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2536)
- เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพาณิชย์ฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-เวียดนาม เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เวียดนาม (พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536)
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-กัมพูชา-ลาว เพื่อศึกษาและเสนอแนะ แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-กัมพูชา-ลาว
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดร.พิจิตต รัตตกุล) ในคณะกรรมการต่างๆ คือ
1. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาด
3. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในวงราชการกรุงเทพมหานคร
- กรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการยุติธรรม
การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
- ประธานมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ถึงปัจจุบัน)
- เป็นกรรมการหรือสมาชิกของสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง รวมถึง THE ASIA SOCIETY
แห่งนครนิวยอร์ก และ สถาบันยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษาแห่งกรุงลอนดอน
- กรรมการบริหารของสถาบันพระปกเกล้า (ปี 2544 ถึง ปัจจุบัน)
- อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาหรือหลักสูตรของหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ เช่น กองทัพ
กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจ กรุงเทพมหานคร
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบียแห่งนครนิวยอร์ก และ มหาวิทยาลัย
จอร์จทาวน์แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี
- วิทยากรบรรยายพิเศษให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยนเรศวร
- สมาชิก Commission For A New Asia (พ.ศ. 2537)

เกียรติประวัติ
ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยผู้นำระดับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยนิตยสาร TIME ในปี พ.ศ. 2538

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2524 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบราชตระกูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์
พ.ศ.2529 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2531 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2535 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2540 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ.2541มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม)
พ.ศ. 2542 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

ผลงานวิชาการ
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีผลงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมากมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อีกทั้งได้มีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติหลาย คน อาทิ Professor Robert Scalapino
งานเขียนอื่น ๆ : เคยเขียนคอลัมน์ประจำให้แก่ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ และ หนังสือพิมพ์แนวหน้า เคยเขียนคอลัมน์รับเชิญให้แก่นิตยสารต่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง Far Eastern Economic Review, The International Herald Tribune, The Asian Wall Street Journal

การลงนามในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543 บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังเกิดกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในเอกสารแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศไทยโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เกิดการโจมตี มรว.สุขุมพันธุ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ที่ระบุให้การจัดทำหลักเขตแดนยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (ค.ศ. 1904) เป็นแนวทาง โดยไม่ระบุ แผนที่แอล 7017 ของ สหรัฐอเมริกา ที่ ไทยใช้อ้างอิง ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ก่อนการลงนามของนายนพดล ปัทมะ เรื่องดังกล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้ชี้แจงว่าการระบุถึงแผนที่ ค.ศ. 1904 เป็นการระบุประกอบเอกสารหลักคือ อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ซึ่งแผนที่จะขัดหรือแย้งไม่ได้ การลงนามในปี พ.ศ. 2543 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศแต่อย่างใด

การเมือง
หม่อมราชวงศ์ผู้มีประสบการณ์การทำงานที่ยังคงอยู่ในความประทับใจของใครหลายคนเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
เกิดเหตุการณ์ “วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542“ ขณะที่กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่า บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า ประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทรเหนือ และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน หลังการเจรจาต่อรองเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้ก่อการร้ายยินยอมปล่อยตัวประกัน แลกกับให้ทางการไทยจัดเฮลิคอปเตอร์ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชายแดนไทย-พม่า
ในที่สุด “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น กลายเป็นฮีโร่ในพริบตา หลังจากที่ได้เสนอตัวเป็นตัวประกันแลกกับเจ้าหน้าที่สถานทูต โดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ทำให้เหตุการณ์ครั้งนั้นยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติของ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” ที่ยังคงจารึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ความกล้าหาญของฝ่ายบริหารประเทศ
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2537 และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคนำไทย
ต่อมา “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สัมพันธวงศ์ สาทร แขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ) เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ 2544
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือ ครม.เงาขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเงา
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการบริหารพรรค มีมติส่ง “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ซึ่งปรากฏว่า “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยได้ “934,602 คะแนน” แม้จะยังไม่ประกาศผลรับรองอย่างเป็นทางการ…


เหตุผลที่เลือก“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เนื่องจากท่านมีความกล้าหาญ เป็นบุคคลที่มีอัธยาศัยดีมีการยิ้มแย้มแจ่มใส ในสมัยที่ดิฉันเรียนชั้นมัธยมตอนปลายได้เรียนยังโรงเรียนที่ราชวงศ์ของท่านเป็นผู้ก่อตั้งและอุปถัมภ์ให้การช่วยเหลือ และในทุกๆปีท่านก็จะมาที่โรงเรียนเสมอ ยิ่งตอนรับประกาศนียบัตรท่านก็จะมาเป็นประธานในพิธีมอบทุกๆปีเสมอ จึงเป้นสาเหตุและเหตุผลที่ดิฉันเลือก“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นบุคลในดวงใจ

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่8


ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการแลละการบริหารรการจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
ตอบ ลักษณะของโครงการที่ดี
โครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่องค์การให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่องค์การหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่ง ประชุม (2535) ได้สรุปลักษณะที่ดีของโครงการดังต่อไปนี้
1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานได้
2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้
3. รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป็นต้น
4. รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ
5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้
6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7. โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม
8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการ
ข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการ
ลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ7. แผนปฏิบัติงาน
8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
10. การติดตามและประเมินผลโครงการ
สรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ (ประชุม, 2535)
1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ
2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล
5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้
6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
7. โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม
8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการ
ข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดของโครงการ
ลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้
1. ชื่อโครงการ
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
4. หลักการและเหตุผล
5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
6. วิธีดำเนินการ
7. แผนปฏิบัติงาน
8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
10. การติดตามและประเมินผลโครงการ
สรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ (ประชุม, 2535)
1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ
2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล
3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์
4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย
5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ
7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ
8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ
9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน
10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล
11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะ โครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ทั้งหมด อาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วย
ปัญหาในการเขียนโครงการ
ในการเขียนโครงการนั้นเป็นการกำหนดกิจกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนำมาซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงาน โครงการบางโครงการเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วไม่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ เนื่องจากปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ (ประชุม,2535)
1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจำนวนไม่น้อยที่เขียนขึ้น โดยบุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ขาดข้อมูลที่มีความเป็นจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง ผู้เขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผลจากการเขียนโครงการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนำเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการในระยะอันสั้น ทำให้ไม่สามารถที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด ข้อมูลบางชนิดขาดการวิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการขึ้นมาแล้วจึงขาดความชัดเจนของข้อมูล จึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนำเอาโครงการไปปฏิบัติ
3. ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเขียนโครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึงการประเมินผลโครงการด้วย
4. การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อัน
เป็นผลมาจากตัวแปรต่างๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งสิ้นและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นปัญหาอย่างสำคัญของการเขียนโครงการ
5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์การ ในบางครั้งการเขียนโครงการ แม้จะเขียนดีเพียงใด หากผู้บริหารไม่ให้ความสนใจขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต่อการทำโครงการอย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดำเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน
6. ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้โครงการที่ทำอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่จะสำเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการด้วย หากขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้
กลุ่มที่ 10 เรื่อง การวางแผนพัฒนาคุณภาพ
ตอบ ส่วนประกอบของแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
1. ปกระบุชื่อสถานศึกษา ชื่อแผน และช่วงเวลาที่ใช้แผน
2. คำนำ
3. สารบัญ
4. ภาพรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย
4.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาบรรยายสรุปสาระสำคัญสั้น ๆ เพื่อความ เข้าใจในบริบท กระบวนการจัดการศึกษาในชุมชน สาระข้อมูลอาจประกอบด้วย
4.1.1 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา เช่น จำนวนบุคลากร ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก อัตราส่วนของข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น
4.1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน เช่น สถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของชุมชนความร่วมมือของชุมชน เป็นต้น การนำเสนอข้อมูลควรเขียนให้สั้น กระชับได้ใจความและควรในกราฟ แผนภูมิ เป็นต้น ในการนำเสนอข้อมูล
4.2 การดำเนินของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา โดยกล่าวถึง ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในสาขาวิชาหลักตามที่กำหนดใน หลักสูตร ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศ ของพื้นที่ และหน่วยงานอื่น เป็นต้น ซึ่งควร นำเสนอการดำเนินงานของสถานศึกษา ตามข้อเท็จจริงโดยจำแนกข้อมูลส่วนประกอบหลักของระบบการ จัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาวิชาชีพ การจัดองค์กร และสิ่งแวดล้อมของ สถานศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน
4.3 สรุปสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษาและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ชี้ให้เห็นสภาพ จุดเด่นของสถานศึกษา สภาพปัญหา อุปสรรค และจุดด้อยของสถานศึกษา สิ่งที่ท้าท้าย ความสามารถของสถานศึกษา และประเด็นสำคัญที่สถานศึกษากำหนด เพื่อการพัฒนาในระยะต่าง ๆ ได้แก่ ในระยะยาว และรายปี ซึ่งแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของ แผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาที่จะกำหนดรอบระยะเวลาได้ตามความ เหมาะสม และวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ ระยะเวลายาวขึ้น เป็น 2-3 ปี ก็ได้
5.เจตนารมณ์ของสถานศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจปณิธานที่สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น และหล่อหลอมเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่คุณภาพของผู้เรียน การ นำเสนอเจตนารมณ์ของสถานศึกษา ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน บางแห่ง อาจมีทั้ง
วิสัยทัศน์และภารกิจ บางแห่งอาจละไว้ไม่เขียนข้อความวิสัยทัศน์ แต่เริ่มต้นด้วยความเชื่อ และ ตามด้วยภารกิจของสถานศึกษา เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ร่วมในการปฏิบัติ สถานศึกษาจะมีแนวทางในการเขียน เช่นใดก็ตาม ทั้งนี้สิ่งที่เขียนจะต้องสะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ หลักการ คุณค่า หรือความเชื่อร่วมที่ สถานศึกษา และชุมชนยึดมั่น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีคุณค่าที่ดีที่สุดต่อผู้เรียน
5.1 วิสัยทัศน์ เป็นเจตนารมณ์ หรือความตั้งใจที่กว้าง ครอบคลุมทุกเรื่องของสถานศึกษา และ เน้นการคิดไปข้างหน้าเป็นสำคัญ แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต โดยมิได้ระบุวิธีดำเนินงานข้อความวิสัยทัศน์จะถ่ายทอดอุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ และอนาคตที่พึงประสงค์ของ สถานศึกษาและชุมชน ข้อความวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา และความ ยาวประมาณ 3-5 ประโยค
5.2 ภารกิจ (หรือพันธกิจ) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์ และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึง วิสัยทัศน์ ซึ่งมีลักษณ์ค่อนข้างเป็นนามธรรม ข้อความ ภารกิจแสดงว่าสถานศึกษาปรารถนาที่จะสัมฤทธิผล อะไรในปัจจุบัน และยังนำไปสู่การวางแนวปฏิบัติด้านพฤติกรรมของบุคลากรด้วย
5.3 เป้าหมาย (หรือจุดมุ่งหมาย) เพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ สถานศึกษา เช่น ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น เป้าหมายที่กำหนดให้ ระดับนี้เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุผลภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียน ยังเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังกว้าง ๆ
6.เป้าหมายการพัฒนา (หรือวัตถุประสงค์) และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษา
6.1 เป้าหมายการพัฒนาเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เป้าหมายนี้ได้จาก ประเด็นสำคัญการพัฒนาอันมาจากการวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น แล้วกำหนดระยะเวลาที่จะ พัฒนาว่าเป็น 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี
6.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ระบุยุทธศาสตร์ที่สถานศึกษาใช้ อันเป็น ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ มีงานวิจัยรองรับ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้บรรลุผล ตามเป้าหมายได้โดยปกติแต่ละเป้าหมายการพัฒนาจะมีหลายยุทธศาสตร์รองรับเพื่อให้สามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้ บรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ 6 ดังนั้นแผนปฏิบัติการประจำปี ประกอบด้วย สังเขปรายละเอียดของกิจกรรม หรือขั้นตอนการ ปฏิบัติเพื่อในบรรลุผลตามยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม หรือ ขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ และแหล่งงบประมาณรูปแบบการเขียนนิยมใช้ตาราง ซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงตั้งแต่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐานที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบ เวลา งบประมาณสำหรับแต่ละกิจกรรม
8.การระดมทรัพยากร แหล่งสนับสนุนงบประมาณ และสรุปงบประมาณในแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา จะบอกจำนวนงบประมาณรวมที่จะต้องใช้ในแต่ละปี และแหล่งที่สถานศึกษาจะ สามารถระดมทรัพยากรและการสนับสนุนด้าน
งบประมาณได้ สำหรับแผนงบประมาณจะเป็นการ ดำเนินงานแยกจากแผนปฏิบัติการายปี
9. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และแหล่งวิทยาการภายนอก เพื่อการสนับสนุน ทางวิชาการและอื่น ๆ เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยระบุว่าจะขอความ ร่วมมือจากหน่วยงานใด ในเรื่องใด เป็นต้น
10. การแสดงภาระความรับผิดชอบการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นการประเมิน คุณภาพผู้เรียน การประเมินความก้าวหน้าของสถานศึกษา การผดุงระบบคุณภาพของสถานศึกษา และการ รายงานผลการปฏิบัติของสถานศึกษาต่อผู้เรียน บิดา มารดา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
11. กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และการขอรับความเห็นชอบใน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยกล่าวถึงกระบวนการจัดทำแผน การทบทวน ปรับปรุงแผนการสร้างการยอมรับ และประชาสัมพันธ์แผนและการขอรับความเห็นชอบในแผนพัฒนา คุณภาพสถานศึกษา จากคณะกรรมการสถานศึกษา
12. ข้อมูลอื่น ๆ เช่น
12.1 นิยามศัพท์ที่ใช้ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเพื่อความเข้าใจตรงกัน
12.2 การเผยแพร่แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา แจกจ่ายแผนให้กับหน่วยงานใด และ บุคคลใดบ้างเป็นต้น
12.3 คณะจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

กลุ่มที่ 11 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอบ เรื่องการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา“การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ” โดยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา จึงจำ เป็นที่จะต้องปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาไทย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา การออกแบบและการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักธรรมาภิบาล ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพผู้บริหาร เป็นต้นในการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้นิยามคำ ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา” ไว้ 2 นิยาม คือ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ อีกหลายอาชีพ แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ ผู้บริหาร เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี
2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดย
สรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษษ ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปีประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย/การวางแผน การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้· ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด· ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน· ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม·

หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา· ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

กลุ่มที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษา
ตอบ ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา มีความสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
การประกันคุณภาพการศึกษาเกี่ยวข้องกับ
การดำเนินการที่สำคัญ 2 เรื่องดังนี้
1.การกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาซึ่งหลักปฏิบัติทั่วไปจะกำหนดโดยองค์คณะบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ หรือ ผู้มีประสบการณ์ (Murgatroyd,Stephen and Morgan,Colin 1994 : 45) ในระบบการศึกษาไทยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้กระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นผู้กำหนดมาตรฐานการศึกษา (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 31) โดยมีสภาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นผู้พิจารณาเสนอตามลำดับสายงาน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542: มาตรา 34)
2. กระบวนการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการจัดการศึกษาว่าเป็นไปตามมาตรฐาน คุณภาพการศึกษามากน้อยเพียงไร พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 48) และให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุก 5 ปี โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 49)
กระบวนการประกันคุณภาพภายใน
ระบบการประกันคุณภาพภายใน หมายถึง ระบบการประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : มาตรา 4)
สถานศึกษาจะต้องพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการและกระบวนการดังต่อไปนี้
1. หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามี 3 ประการ คือ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 : 11)
1.1 จุดมุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ไม่ใช่การจับผิดหรือทำให้บุคลากรเสียหน้า โดยเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1.2 การที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามข้อ 1.1 ต้องทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ใช่เป็นกระบวนการที่แยกส่วนมาจากการดำเนินงานตามปกติของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผนตรวจสอบประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่มีความโปร่งใสและมีจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการทำงาน
1.3 การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ
2.กระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประกันคุณภาพ มี 3 ขั้นตอนคือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 :7)
2.1 การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
2.2 การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ และติดตามผลการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
2.3 การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดในระดับเขตพื้นที่การศึกษาฯ และระดับกระทรวง
3. กระบวนการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของหลักการบริหารที่เป็นกระบวนการครบวงจร (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
3.1 การร่วมกันวางแผน (Planning)
3.2 การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
3.3 การร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
3.4 การร่วมกันปรับปรุง (Action)เมื่อพิจารณากระบวนการการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของการประเมินคุณภาพและแนวคิดของการบริหารแบบครบวงจรจะเห็นว่ามีความสอดคล้องกัน ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 :10
บทบาทหน้าที่ของครูในการประกันคุณภาพภายในควรเป็นดังนี้
1. มีการเตรียมความพร้อมของตนเอง โดยทำการศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ วิธีการ ขั้นตอนในการประเมินผลภายใน รวมทั้งพยายามสร้างเจตคติที่ดีต่อการประเมินภายใน
2. ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการให้ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่คณะกรรมการประเมินผลภายในต้องการ
3. ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของการประเมินผลภายใน เช่น เข้าร่วมพิจารณาจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานด้านการประเมินผลภายในสถานศึกษา ร่วมกันพิจารณาจัดสร้างเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลลักษณะต่างๆ ในกระบวนการประเมินผลภายใน ร่วมกันทำการสำรวจเก็บข้อมูลที่คณะกรรมการสำรวจ ร่วมกันทำการวิเคราะห์ข้อมูล (หากมีความรู้ด้านการวิเคราะห์) ร่วมกันสรุปผลการประเมิน เป็นต้น
4. ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการร่วมกันกำหนดจุดประสงค์ กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประเมินด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาเอง และร่วมกันกำหนดเกณฑ์การตัดสินมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในด้านต่าง ๆ
5. ปฏิบัติหน้าที่หลักหรือหน้าที่ประจำที่รับผิดชอบอย่างมีระบบ ตามกระบวนการและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา เช่น ในหน้าที่การสอนต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและแผนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ จัดเตรียมเนื้อหาสาระที่ถูกต้องเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดทำสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพตรงตามจุดประสงค์การเรียนการสอน จัดกิจกรรม วิธีการเรียนรู้ที่สร้างให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้าหาความรู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เลือกวิธีการประเมินผลการเรียนหลากหลายและเหมาะสมรวบรวมผลสรุปผล ประเมินการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้เรียน นำผลการประเมินมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
การประเมินคุณภาพภายนอก
ความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาการประเมินคุณภาพภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ดังต่อไปนี้
ประการที่ 1เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ประการที่ 2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ประการที่ 3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
ประการที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ใบงานที่6

ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้

1. ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล ของกลุ่ม ขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยี สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร

2. ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ ถ้าหากเข้าพเจ้าต้องไปเป็นครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาที่ต้องไปสอน คือ ศึกษาการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นด้านของความคิด ความเชื่อ เจตคติ ตลอดจนค่านิยมขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร และบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรในระดับมหภาค หากเราปฎิบัติได้เช่นนั้นก็จะทำให้เราอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข

3. รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ รูปแบบในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคลไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมตามแนวคิด Peter Sengeและ วิธีการปฏิบัติและตรวจสอบ
1. คุณลักษณะของสมาชิกในการเรียนรู้เป็นทีม ในด้านความเข้าใจของ สมาชิกในการเรียนรู้เป็นทีมต้องมีแนวคิด แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกันและ มีจุดมุ่งหมายในการทำงานและบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้ในแนวทางเดียวกัน วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการปฏิบัติงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment)หรือไม่
2. สมาชิกในทีมแห่งการเรียนรู้ต้องได้รับการเพิ่มอำนาจในการทำงาน (Empowerment) ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจ ความรับผิดชอบและความอิสระในการตัดสินใจปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาขึ้นวิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการเพิ่มอำนาจในการทำงานและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของหน่วยงาน เช่น การจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองหรือไม่
3. สมาชิกในทีมแห่งการเรียนรู้ต้องมีการประสานพลังร่วมกันในโดยนำความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของแต่ละคนในทีมออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าวิสัยทัศน์ของทีมได้มาจากความคิดเห็นของกลุ่ม(Group Thinking) โดยให้ความคิดเห็นเป็นเอกฉันท์ ทุกคนยอมรับ
4. ต้องสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและประสานงานกับผู้อื่นได้ ให้ความร่วมมือในการทำงานคิด เปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ผลการปฏิบัติ งานจะต้องมีการประสานงานและความคิดสร้างสรรค์วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงใหม่ (Innovation) และ การประสานงาน (Coordination) บ้างหรือไม่
5. สมาชิกในทีมต้องส่งเสริมสนับสนุนและกระตุ้นการเรียนรู้ของสมาชิก แต่ละคนในทีมให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีวิธีการถ่ายทอดการปฏิบัติและทักษะความรู้ไปยังส่วนรวม เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นให้รู้วิธีปฏิบัติ รู้วิธีการและสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำงานวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าได้มีการถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติและทักษะ (Practice and Skill) ความสำเร็จของทีมสามารถ สร้างมาตรฐานการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร เช่น การทำงานของทีมบริหารสามารถส่งผลไปยังทีมอื่น ๆ ในองค์กรได้บ้างหรือไม่
6. สมาชิกในทีมแห่งการเรียนรู้ต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ทัศนคติของสมาชิกในการเรียนรู้เป็นทีมวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าระบบการคิดพิจารณา (Think Insigntfully) เป็นการพิจารณา อย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจการทำงานและปัญหาหรือไม่
7. ต้องมีความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน (Operational Trust) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ร่วมกัน (Collective Discipline) สมาชิกทุกคนต้องมีความเชื่อมั่นระหว่างกัน และเข้าใจในการทำงาน วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีความไว้วางใจในการทำงาน การบอกข้อเท็จจริงต่อกันเช่น ผู้ร่วมงานสามารถมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำแทนได้ด้วยความไว้วางใจ
8. ต้องสร้างความรู้สึกถึงบรรยากาศในการทำงานที่ปลอดภัย เมื่อสมาชิกในทีมต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงหรือต้องตัดสินใจในการทำงาน เมื่อเกิดความผิดพลาดต้องรู้จักให้อภัยและให้กำลังใจกัน จากผลการวิจัยพบว่าสมาชิกไม่ควรได้รับบทลงโทษ หากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามป้าหมายหรือเกิดข้อผิดพลาดแต่ควรยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าสมาชิกมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่อเผชิญกับความเสี่ยงและการให้อภัย การให้กำลังใจกัน หรือไม่
9. ทักษะการสร้างพฤติกรรมที่สุภาพ (Creating Courteous Behaviors)วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีพฤติกรรมที่สุภาพให้เกียรติกันในที่ทำงานหรือไม่
10. ทักษะการส่งเสริมการสื่อสารให้ดีขึ้น (Improving Communication)รู้จักการรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าสมาชิกในองค์การมีการรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ หมายถึง ท่านตั้งใจรับฟังผู้ร่วมงานที่พูดกับท่านเสมอ
11. ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม คือ จิตสำนึกในเรื่องการเห็นความสำคัญของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรวมทั้งความภาคภูมิใจในความสำเร็จของระบบงานรวมวิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการได้รับความร่วมมือในการทำงานเพื่อสร้างผลงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Team Building Skill)
12. การสอบถามและสะท้อนความคิดเห็น (Inquiry and Reflection Skills) คือ การพูดคุย ซักถาม โดยการระดมสมองร่วมกันคิด เป็นการเรียนรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้อื่น สื่อความคิดเห็นของตนไปสู่คนอื่นรวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการวิเคราะห์ ซักถาม โต้แย้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการตรวจสอบ ตรวจสอบโดยการสอบถามและสะท้อนความคิดเช่น ท่านมักจะตอบโต้ความคิดเห็นกับผู้ร่วมงานแล้วพบว่า ช่วยให้ท่านเข้าใจการทำงานได้ดีขึ้น

4. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ วิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Individual rganization) เพื่อไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน (Team Learning) โดยในการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลควบคู่การการพัฒนาการเรียนรู้ขององค์กรด้วย เพราะว่าหากในระดับปัจเจกบุคคลไม่มีการเรียนรู้หรือไม่ได้รับการพัฒนาให้เรียรู้แล้ว ในการที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นในการที่จะพัฒนาองค์กรของข้าพเจ้าให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกันนั้นจะต้องเริ่มที่การพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Individual Learning) ของบุคลากรในองค์กรดังนี้
1.การเรียนรู้ที่อยู่ในตัวของปัจเจกบุคคลที่มีเจตคติและค่านิยมในแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน และในการทำงานเป็นทีมในบางครั้งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น ปัญหาความแตกต่างในด้านอายุ เพศ เชื้อชาติ ความคิด ความรู้ และความเชื่อ เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่สมาชิกในองค์การจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ควรลดปัญหาเหล่านี้ลงโดยเปลี่ยนจากการประนีประนอมเป็นใช้หลักการประสานประโยชน์ร่วมกัน หรือคิดแบบชนะ/ชนะ (Think Win/Win) เพราะการประนีประนอมนั้นแต่ละฝ่ายอาจจะต้องสูญเสียประโยชน์ส่วนตนบางส่วน แต่หลักการประสานประโยชน์ร่วมกันแต่ละฝ่ายจะได้รับประโยชน์สูงสุดตามที่ต้องการ ทีมงานจะได้รับอำนาจและหน้าที่ เพื่อประโยชน์ด้านการตัดสินใจให้ได้มากที่สุด และในการบริหารองค์กรควรทำให้สมาชิกในองค์การเข้าใจธรรมชาติของงาน สามารถติดต่อสื่อสารและมีการเจรจาต่อรองที่ดี เพราะธรรมชาติของการทำงานเป็นทีมจะเป็นการกระจายอำนาจและประสานพลัง แต่อาจจะมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นได้บ้าง แต่การทำงานเป็นทีมอย่างเดียวก็ไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงความสำเร็จ เพราะในงานบางอย่างก็ไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นทีม ในการทำงานเป็นทีมนั้นสมาชิกทุกคนควรจะต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือมีเป้าหมายไปในทางเดียวกัน และสมาชิกมีการระดมความคิด ติดต่อสื่อสาร และปรึกษาหารือกันร่วมกัน ก็สามารถทำให้สมาชิกที่แตกต่างกันมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันและมีทิศทางในการปฏิบัติร่วมกันได้ ถึงแม้ว่าวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อาจจะต่างกัน ซึ่งจะทำให้งานเป็นระบบระเบียบในทิศทางเดียวกัน และไม่ต้องสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ และการกระจายอำนาจในการทำงานนั้นจะต้องมีการจัดระเบียบความคิดของสมาชิกแต่ละคนเสียก่อน หากความคิดและพฤติกรรมของแต่ละคนอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงทำให้ระบบไม่สามารถทำงานประสานกันได้ อำนาจที่กระจายไปในตำแหน่งต่าง ๆ นั้นจะเป็นตัวที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง และสามารถตรวจสอบได้จากการปฏิบัติงานของสมาชิกในแต่ละคน ถ้าสมาชิกทุกคนมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้างสรรค์ให้องค์กรมีความก้าวหน้า ผลงานที่ออกมาแสดงถึงประสิทธิผลของงาน
2. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอย่างหนึ่ง ที่สังคมของการทำงานร่วมกันในองการได้กำหนดขึ้น โดยมีการพัฒนาแนวคิด ความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และได้มี่การยึดถือปฏิบัติตามกันในต่อมา ในการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร (Cultural Learning) จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนสิ่งที่ผู้คนในองค์กรประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำว่าเหมาะสมกับทิศทางและกลยุทธ์ขององค์การในระยะสั้น ระยะยาว มาก-น้อย อย่างไร และที่สำคัญจะต้องดำเนินการในประเด็นหลักๆดังนี้
- Unlearn สิ่งใดที่ไม่ดี แต่ยังมีการปฏิบัติอยู่ ก็ควรลดและเลิกให้ได้ในที่สุด
- Learn สิ่งใดที่ดี ควรเรียนรู้ และนำมาปฏิบัติเสียใหม่
- Relearn สิ่งใดที่ดี ควรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมแล้ว ในมุมหนึ่งของการปฏิบัติสามารถดำเนินได้
- Unfreeze สิ่งใดที่ดีแต่ถูกลืมไม่ได้ปฏิบัติไประยะเวลาหนึ่ง ควรนำกลับมาใหม่
- Freeze สิ่งใดที่ไม่ดี หาหนทางแช่แข็ง
- Refreeze สิ่งใดที่ไม่ดี และะถูกแช่แข็งเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็ควรจะลืมไปเลยว่าเคยมีสิ่งนั้นๆอยู่
กล่าวโดยสรุปแล้วเราสามารถจะเข้าใจและจดจำ และนำมาปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การได้ด้วยหลักการอย่างง่ายๆได้ 2 ส่วน คือ Unlearn/ Learn/ Relearn และ Unfreeze/ Freeze/ Refreeze
ในการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรถือเป็นทักษะสำคัญ ในการที่จะปรับแต่งองค์การให้องค์กรเอื้อต่อการก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่หัวใจอีกส่วนหนึ่งก็คือ องค์ความรู้ และทักษะที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจหรือภารกิจใดๆ องค์ความรู้และทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคลละองค์กรจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน อาทิเช่น
ž การเรียนรู้เชิงกลยุทธ์
ž การเรียนรู้เชิงระบบ
ž การเรียนรู้เชิงระบบ
ž การเรียนรู้ภาวะผู้นำ
ž การเรียนรู้กระบวนการคิดวิเคราะห์
ž การเรียนรู้กระบวนงาน
ž การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
ž การเรียนรู้ความเป็นเจ้าของธุรกิจ

ใบงานที่5


ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

1. การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ การอยู่ร่วมกันในหอพักการรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน ทำให้อยู่ร่วมกัน มีระดับเสมอกัน ทัดเทียมกัน ไม่แตกต่างกันมาก เผื่อแผ่ทรัพย์สินเงินทอง ให้ปันความรู้วิชา ให้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีน้ำใจต่อกัน การผูกมิตรไมตรีกันไว้เป็นสิ่งดี คอยตักเตือนเมื่อจะทำผิด หรือเมื่อมีภัยมา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ไม่ใช่ปากพูดอย่าง ใจคิดไปอีกอย่าง ต่างคนต่างระแวงกัน ต่างคนต่างระวังตัว เช่นนี้แล้วจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร ตัวอย่าง ตอนเข้ามาอยู่หอพักจะมีการประชุมและสร้างกฎระเบียบร่วมกันแล้วจะมีการรับน้อง เพื่อให้นักศึกษารู้จักกันและรู้จักความสามัคคี


2. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ การทำงานเป็นกลุ่มเป็นการฝึกการทำงานเป็นทีมที่สมาชิกทุกคนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฝึกความรับผิดชอบ เพราะแต่ละคนต้องรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมายและทำงานนั้นออกมาให้ดีที่สุด ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ฝึกการให้อภัยซึ่งกันและกัน ฝึกความสามัคคีภายในกลุ่ม เป็นต้น
การทำงานเป็นกลุ่ม คือ การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน การทำงานเป็นกลุ่ม มีความสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน การทำงานเป็นกลุ่มมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดีตัวอย่าง การที่เราทำงานร่วมกันนั้นเรา เราไม่ควรยึดตัวเองเป็นหลัก เราควรจะลงความคิดเห็นร่วมกันและช่วยกันคิด ช่วยกันตรวจสอบงานที่จะส่งเพื่อให้มีการผิดพลาดน้อยที่สุด

3. หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบหากเราทะเลาะกันเราควรนำหลักในการสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปใช้และฝึกฝนใช้อยู่เป็นประจำ ได้แก่
-สร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น รู้จักเข้าใจ และเห็นใจความรู้สึกของผู้อื่น
-ใช้การสื่อวารที่มีประสิทธิภาพ รู้จักสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ฝึกการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีและไม่ลืมที่จะใส่ใจความรู้สึกของผู้ฟังด้วย
-แสดงความมีน้ำใจรู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้และรับ
-ให้เกียรติผู้อื่นอย่างจริงใจ รู้จักยอมรับในความสามารถของผู้อื่น
-แสดงความชื่นชมให้กำลังใจซึ่งกันและกันและรู้จักการแสดงออกให้เหมาะสมตามวาระโอกาส ถ้าเรานำหลักการดังนี้ไปใช้แล้ว เราและคนที่เรารู้จักจะไม่เกิดการทะเลาะกัน

4. แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ แนวคิดเชิงบวก คือ
1. การพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับ
1.1 ความรู้สึกตระหนักในสมรรถนะของตนเอง
1.2 พัฒนาความรู้สึกในความสำคัญของตนเองในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
1.3 มีความรุ้สึกในพลังของตนเองที่สามารถควบคุมตนเองได้
2. การพัฒนาทักาะสำคัญๆได้แก่
2.1 ทักษะส่วนตน คือ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง และสามารถควบคุมความรู้สึกของตนเอง
2.2 ทักษะระหว่างบุคคล คือ ความสามารถในการสื่อสารปรับตัวเข้ากับผู้อื่น
2.3 ทักษะเชิงกลยุทธ์ คือ ปรับตัว ยืดหยุ่น และรับผิดชอบ
2.4 ทักษะในการพิจารณาตัดสิน คือ มีความฉลาดพอที่จะประเมินสถานการณ์ได้

ใบงานที่4

ให้นักศึกษาอธิบายประเด็นต่อไปนี้
1. หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร

ตอบ หลักปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม

1. มีอุดมการณ์ที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ

2. ยึดมั่นในความถูกต้อง

3. ใช้หลักการประนีประนอม

4. ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ

5. มีสำนึกในเรื่องสัดส่วนการปฏิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน

6. ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน

7. เคารพในสิทธิและเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก

8. ถือหลักการไม่มุ่งเอาเด่นคนเดียว แต่ต้องดีร่วมกันทั้งทีม

9. รู้จักมองปัญหาให้เป็นเรื่องธรรมดา

10. เปิดใจกว้างระหว่างกัน

11. รู้จักแบ่งงาน และประสานงาน

12. มีความเป็นอิสระในการทำงานพอสมควร

13. ถือการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ อย่างเคร่งครัดเสมอ

14. ยอมรับผิดเมื่อทำผิด

15. เมื่อมีความขัดแย้งต้องถือหลักการปรับมุมมองที่อาจแตกต่างกัน ให้มองในมุมมองเดียวกันได้

2. มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ

ตอบ ปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม

1. สมาชิกทุกคนต้องรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงาน และมีความสำนึกผูกพันที่จะร่วมปฏิบัติการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างจริงจัง

2. สมาชิกของทีมรู้ถึงความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมของตนเองและของเพื่อนร่วมทีมของตนเป็นอย่างดี

3. สมาชิกในทีมรู้กระจ่างถึงบทบาทของตนในการทำงานร่วมทีมและแสดงบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม

4. มีกฎ ระเบียบ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมและคุ้มครองให้สมาชิกได้ปฏิบัติร่วมกันได้อย่างมีผลดี ปลอดภัย และราบรื่น

5. มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีในระหว่างสมาชิก

6. มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อขจัดปัญหาขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น

7. มีวิธีการที่สมาชิกร่วมปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน

8. มีวิธีการที่ปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอในการสร้างความรู้สึกในระหว่างสมาชิกให้มีสำนึกในความเป็นกลุ่มหรือพวกเดียวกัน

9. มีวิธีการทำงานที่ดี

10. มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการร่วมทำงานอยู่เสมอ

3. ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ตอบ วิธีการทำงานเป็นทีมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้คือ
1. บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2. ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4. บทบาท (Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5.วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก
5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7.การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system

.ใบงานที่3

ให้นักศึกษาอธิบายประเด็นต่อไปนี้

1. ความหมายองค์และองค์การ

ตอบ จาก Knowledge Center องค์การ เป็นศัทพ์บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า organization หมายถึง ศูนย์กลางของกิจการที่รวมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย

“องค์กร” เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับภาษาอังกฤษว่า organ หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน พูดง่าย ๆ ก็คือ หลาย ๆ “องค์กร” รวมกันเข้ากลายเป็น “องค์การ”
สำหรับนิยามอื่นๆ ขององค์การ

องค์การ หมายถึง ระบบที่มีเจตนาที่จะประสานการกระทำของบุคคลตั้งแต่ 2คนขึ้นไป จากChester I. Barnard องค์การ หมายถึง ระบบของการกระทำเฉพาะเจาะจงที่มีจุดมุ่งหมาย และมีลักษณะต่อเนื่องจากMax Weber องค์การ หมายถึง หน่วยทางสังคมหรือการรวมกลุ่มของมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบรรลุเป้าหมายเฉพาะบางประการ ความคิดของข้าพเจ้าคิดว่า องค์การ หรือ องค์การ หมายถึง การทำงานร่วมกันระหว่างคน 2 คนขึ้นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันบางประการที่ได้มีการวางแผนการประสานงานไว้ล่วงหน้าแล้ว การทำงานของกลุ่มคนดำเนินการไปอย่างสม่ำเสมอ ติดต่อกันโดยอาศัยหลักการแบ่งแยกงาน และหลักลำดับชั้นของอำนาจ
2. องค์ประกอบของการสื่อสาร

ตอบ การสื่อสาร เป็นกิจกรรมร่วมกันที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หมายความว่า การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ

(1) ผู้ส่งสาร หรือผู้กำหนดสาร (Sender, Source Creator)

(2) สาร (Message, Information)

(3) สื่อ หรือพาหนะ หรือช่องทางในการนำสาร ส่งไป (Media หรือ Channel)

(4) ผู้รับสาร (Receiver)

(5) ปฏิกิริยา หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หลังส่ง-รับสาร (Feed Back)
เมื่อมีองค์ประกอบครบพร้อม ต่อไปดูว่าเกิดกระบวนการต่อไปนี้หรือไม่ คือ

(1) มีการกำหนดสาร (Message Design & Source Data) โดยผู้ส่งสาร อาจต้องมีการเข้ารหัสของสารด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร

(2) สารถูกส่งไปยังผู้รับ (Process) โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของสาร

(3) สารที่ส่งออกไปถึงผู้รับปลายทาง และผู้รับก็รับรู้ถึงสารที่ส่งมานั้น (Awareness) และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ อาจเป็นเชิงบวก (เห็นด้วย ยอมรับ) หรือเชิงลบ (ขัดแย้ง ไม่ยอมรับ) หรือเชิงซ่อน (รู้สึกเฉยๆ ยังไม่ลงความเห็น หรือตัดสินใจในเวลานั้น) นี่คือ Model พื้นฐานที่ใช้อธิบายรูปแบบการสื่อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารเชิงบูรณาการ (Integrated Communication) การสื่อสารการตลาด-ธุรกิจ (Bussiness & Marketing Communication) การสื่อสารมวลชน (Mass Media Communication) การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) การสื่อสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development Communicaton) การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสุขภาวะ (Conditional Health Communication) และการสื่อสารการศึกษา (Educational Communication)
3. การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง

ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคม ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล

ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด

-ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical_Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น

-ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น

4. วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุประสงค์การสื่อสาร
1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล

2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

3. เพื่อลดเวลาการทำงาน

4. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร

5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ

6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

5. ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร

ตอบ ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ตามจะต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ความคิด อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานเลขานุการ ที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การเขียน การอ่าน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

จากนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) ยังช่วยให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ฉะนั้น งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการที่ใช้ส่งเรื่องราวข่าวสาร ข้อความ เรื่องและภาพ ไปมาระหว่างกันทั้งภายในหน่วยงาน (Internal Communication) และภายนอกหน่วยงาน (External Communication)

สรุป การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ซึ่งการส่งข่าวสารอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร การใช้กิริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ โดยอาศัยช่องทางในการติดต่อสื่อสาร

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่2

เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
(1.) นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ ผู้นำและผู้บริหารมีความแตกต่างกันดังนี้ผู้นำ คือ บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมา หรือได้รับการคัดเลือกให้เป็นหัวหน้า เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย ประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาท และขณะเดียวกันก็สามารถทำให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติงานร่วมกัน โดยใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ ความสมัคร3สมานสามัคคีกัน ปฏิบัติการ และอำนวยการให้งานเจริญก้าวหน้า และ บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ผู้บริหาร คือ ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
(2.) นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ ภาระหน้าที่ของผู้นำไว้ดังนี้1.การชี้ขาด เมื่อมีปัญหาหรือความขัดแย้งเกิดขึ้น จะต้องเป็นผู้ชี้ขาด2. การเสนอแนะ หาโอกาสเสนอแนะผู้ใต้บังคับบัญชา โดยหลีกเลี่ยงการใช้คำสั่ง เพื่อรักษาการมีส่วนร่วมเอาไว้3. การให้เป้าหมาย เป้าหมายขององค์การไม่ได้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ แต่จะถูกกำหนดโดยที่ผู้นำกับเพื่อนสมาชิกทุกนในองค์การนั้น4. การกระตุ้น ผู้นำจะต้องเป็นผู้กระตุ้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ และขณะเดียวกันก็สร้างขวัญและกำลังใจในกรปฏิบัติงานด้วย5. การให้ความมั่นคงด้านการรักษาเจตคติในทางที่ดี และมองโลกในแง่ดีไว้เมื่อเผชิญกับปัญหา6. การเป็นตัวแทน ผู้นำจะเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มในองค์การ การประพฤติปฏิบัติตัวจะต้องระมัดระวัง เพราะจะมีผลกระทบไปถึงกลุ่มบุคคลในองค์การนั้น7. การดลใจ ผู้นำจะต้องให้ทุกคนภายในองค์การเห็นคุณค่าและความสำคัญของงาน และให้บริสุทธิ์ใจ
(3.) นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ ข้าพเจ้าคิดว่าการพัฒนาภาวะผู้นำที่มีดังนี้การเป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องพัฒนา ตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ การพัฒนา ภาวะผู้นำอาจทำได้ ดังนี้1. เรียนจากงานที่ทำ ส่วนมากเวลาเราไปศึกษาดูงานจากสถานศึกษา มักจะดู Product (ผลงาน) มากกว่า เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น2. เรียนจากผู้อื่น ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”3. เรียนจากนาย ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดี4. การฝึกอบรมและปฏิบัติการ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ4.1 ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ4.2 การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้4.3 เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ4.4 ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
(4.) นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ ในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นแนวคิดที่สำคัญๆ(มัลลิกา ต้นสอน, 2544: 54) ดังนี้1.ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง (Transactional and Transformational Leadership) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ ผู้นำแบบเดิมที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยรางวัลต่างๆ เป็นเครื่องมือในการชักจูงให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ส่วนผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้ความสามารถเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติของสมาชิก เพื่อให้สมาชิกทำงานได้บรรลุเหนือกว่าเป้าหมายที่ต้องการ โดยผู้นำจะถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ และกระตุ้นทางด้านความคิดต่างๆให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ2.ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ (Charismatic theory) เป็นการกล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากบุคคลอื่น รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2544: 55) กล่าวว่า ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น ชอบที่เสี่ยง สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการโฆษณาตัวเอง และทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุด กระแสในปัจจุบันได้มุ่งให้ความสนใจกับ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) และภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic leadership) ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้พยายามอธิบายว่า ผู้นำประสบความสำเร็จในระดับสูงในการจูงใจสมาชิก
(5.)นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ตอบ ความหมายของประสิทธิภาพของภาวะผู้นำก็เหมือนกับความหมายของภาวะผู้นำ ที่มีมากและแตกต่างกันไปตามความสนใจ และขอบเขตการศึกษาของนักวิจัย นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีก ประการหนึ่งคือ เกณฑ์ (Criteria) ที่จะใช้วัดหรือประเมินประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ จากการ ศึกษางานวิจัย พบว่า เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ พอแยกได้เป็น 3 ลักษณะคือ1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำ หรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่นผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีต่อผู้นำ และฐานะที่ ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ สำหรับผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจ อาจจะเห็นได้ชัดจากผลกำไร ที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ครองส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การยอมรับในผู้นำจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และผู้ตามมากขึ้น ส่วนองค์การของรัฐมักจะเน้นไปที่ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตและการบริการขององค์การ2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) ทัศนคติของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบได้ โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม ดังตัวอย่างคำถามต่อไปนี้ -ผู้นำสามารถตอบสนองความต้องการและคาดหวังของผู้ตามได้ดีเพียงใด -ผู้ตามชอบ ยกย่องและยอมรับผู้นำเพียงใด -ผู้ตามมีความยินดีในการปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำแค่ไหน -ผู้ตามต่อต้าน เพิกเฉย ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำหรือเปล่า นอกจากนั้น อาจดูได้จากการมีคำร้องทุกข์และบัตรสนเท่ห์ต่าง ๆ ส่งถึงผู้นำในระดับสูงกว่า รวมทั้งการขอย้าย การขาดงาน การหน่วงเหนี่ยวงาน และการหยุดงานมากขึ้น เป็นต้น3. คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process) คุณภาพของกระบวนการกลุ่มก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่าง ๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระบวนการกลุ่มของลูกน้องมีคุณภาพดีขึ้นในด้านความ สามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไขความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้าน กิจกรรมขององค์การ การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงาน การสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในงาน และการพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น