ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1. ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถาน และการกระทำของบุคคล ของกลุ่ม ขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยี สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
2. ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ ถ้าหากเข้าพเจ้าต้องไปเป็นครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาที่ต้องไปสอน คือ ศึกษาการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นด้านของความคิด ความเชื่อ เจตคติ ตลอดจนค่านิยมขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร และบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรในระดับมหภาค หากเราปฎิบัติได้เช่นนั้นก็จะทำให้เราอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีความสุข
3. รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ รูปแบบในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคลไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมตามแนวคิด Peter Sengeและ วิธีการปฏิบัติและตรวจสอบ
1. คุณลักษณะของสมาชิกในการเรียนรู้เป็นทีม ในด้านความเข้าใจของ สมาชิกในการเรียนรู้เป็นทีมต้องมีแนวคิด แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกันและ มีจุดมุ่งหมายในการทำงานและบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้ในแนวทางเดียวกัน วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการปฏิบัติงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน (Alignment)หรือไม่
2. สมาชิกในทีมแห่งการเรียนรู้ต้องได้รับการเพิ่มอำนาจในการทำงาน (Empowerment) ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจ ความรับผิดชอบและความอิสระในการตัดสินใจปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาขึ้นวิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการเพิ่มอำนาจในการทำงานและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของหน่วยงาน เช่น การจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองหรือไม่
3. สมาชิกในทีมแห่งการเรียนรู้ต้องมีการประสานพลังร่วมกันในโดยนำความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของแต่ละคนในทีมออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าวิสัยทัศน์ของทีมได้มาจากความคิดเห็นของกลุ่ม(Group Thinking) โดยให้ความคิดเห็นเป็นเอกฉันท์ ทุกคนยอมรับ
4. ต้องสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและประสานงานกับผู้อื่นได้ ให้ความร่วมมือในการทำงานคิด เปลี่ยนแปลงในสิ่งใหม่ ผลการปฏิบัติ งานจะต้องมีการประสานงานและความคิดสร้างสรรค์วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงใหม่ (Innovation) และ การประสานงาน (Coordination) บ้างหรือไม่
5. สมาชิกในทีมต้องส่งเสริมสนับสนุนและกระตุ้นการเรียนรู้ของสมาชิก แต่ละคนในทีมให้มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีวิธีการถ่ายทอดการปฏิบัติและทักษะความรู้ไปยังส่วนรวม เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นให้รู้วิธีปฏิบัติ รู้วิธีการและสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำงานวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าได้มีการถ่ายทอดวิธีการปฏิบัติและทักษะ (Practice and Skill) ความสำเร็จของทีมสามารถ สร้างมาตรฐานการเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร เช่น การทำงานของทีมบริหารสามารถส่งผลไปยังทีมอื่น ๆ ในองค์กรได้บ้างหรือไม่
6. สมาชิกในทีมแห่งการเรียนรู้ต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ทัศนคติของสมาชิกในการเรียนรู้เป็นทีมวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าระบบการคิดพิจารณา (Think Insigntfully) เป็นการพิจารณา อย่างลึกซึ้งเพื่อให้เข้าใจการทำงานและปัญหาหรือไม่
7. ต้องมีความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน (Operational Trust) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ร่วมกัน (Collective Discipline) สมาชิกทุกคนต้องมีความเชื่อมั่นระหว่างกัน และเข้าใจในการทำงาน วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีความไว้วางใจในการทำงาน การบอกข้อเท็จจริงต่อกันเช่น ผู้ร่วมงานสามารถมอบหมายงานให้ผู้อื่นทำแทนได้ด้วยความไว้วางใจ
8. ต้องสร้างความรู้สึกถึงบรรยากาศในการทำงานที่ปลอดภัย เมื่อสมาชิกในทีมต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงหรือต้องตัดสินใจในการทำงาน เมื่อเกิดความผิดพลาดต้องรู้จักให้อภัยและให้กำลังใจกัน จากผลการวิจัยพบว่าสมาชิกไม่ควรได้รับบทลงโทษ หากผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามป้าหมายหรือเกิดข้อผิดพลาดแต่ควรยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าสมาชิกมีความรู้สึกปลอดภัยเมื่อเผชิญกับความเสี่ยงและการให้อภัย การให้กำลังใจกัน หรือไม่
9. ทักษะการสร้างพฤติกรรมที่สุภาพ (Creating Courteous Behaviors)วิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีพฤติกรรมที่สุภาพให้เกียรติกันในที่ทำงานหรือไม่
10. ทักษะการส่งเสริมการสื่อสารให้ดีขึ้น (Improving Communication)รู้จักการรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจวิธีการตรวจสอบให้ดูว่าสมาชิกในองค์การมีการรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ หมายถึง ท่านตั้งใจรับฟังผู้ร่วมงานที่พูดกับท่านเสมอ
11. ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม คือ จิตสำนึกในเรื่องการเห็นความสำคัญของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรวมทั้งความภาคภูมิใจในความสำเร็จของระบบงานรวมวิธีการตรวจสอบให้ดูว่ามีการได้รับความร่วมมือในการทำงานเพื่อสร้างผลงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Team Building Skill)
12. การสอบถามและสะท้อนความคิดเห็น (Inquiry and Reflection Skills) คือ การพูดคุย ซักถาม โดยการระดมสมองร่วมกันคิด เป็นการเรียนรู้โดยมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้อื่น สื่อความคิดเห็นของตนไปสู่คนอื่นรวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการวิเคราะห์ ซักถาม โต้แย้ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการตรวจสอบ ตรวจสอบโดยการสอบถามและสะท้อนความคิดเช่น ท่านมักจะตอบโต้ความคิดเห็นกับผู้ร่วมงานแล้วพบว่า ช่วยให้ท่านเข้าใจการทำงานได้ดีขึ้น
4. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ วิธีการหรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Individual rganization) เพื่อไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน (Team Learning) โดยในการที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลควบคู่การการพัฒนาการเรียนรู้ขององค์กรด้วย เพราะว่าหากในระดับปัจเจกบุคคลไม่มีการเรียนรู้หรือไม่ได้รับการพัฒนาให้เรียรู้แล้ว ในการที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นในการที่จะพัฒนาองค์กรของข้าพเจ้าให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกันนั้นจะต้องเริ่มที่การพัฒนาการเรียนรู้ส่วนบุคคล (Individual Learning) ของบุคลากรในองค์กรดังนี้
1.การเรียนรู้ที่อยู่ในตัวของปัจเจกบุคคลที่มีเจตคติและค่านิยมในแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน และในการทำงานเป็นทีมในบางครั้งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น ปัญหาความแตกต่างในด้านอายุ เพศ เชื้อชาติ ความคิด ความรู้ และความเชื่อ เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่สมาชิกในองค์การจะทำงานร่วมกันเป็นทีม ควรลดปัญหาเหล่านี้ลงโดยเปลี่ยนจากการประนีประนอมเป็นใช้หลักการประสานประโยชน์ร่วมกัน หรือคิดแบบชนะ/ชนะ (Think Win/Win) เพราะการประนีประนอมนั้นแต่ละฝ่ายอาจจะต้องสูญเสียประโยชน์ส่วนตนบางส่วน แต่หลักการประสานประโยชน์ร่วมกันแต่ละฝ่ายจะได้รับประโยชน์สูงสุดตามที่ต้องการ ทีมงานจะได้รับอำนาจและหน้าที่ เพื่อประโยชน์ด้านการตัดสินใจให้ได้มากที่สุด และในการบริหารองค์กรควรทำให้สมาชิกในองค์การเข้าใจธรรมชาติของงาน สามารถติดต่อสื่อสารและมีการเจรจาต่อรองที่ดี เพราะธรรมชาติของการทำงานเป็นทีมจะเป็นการกระจายอำนาจและประสานพลัง แต่อาจจะมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นได้บ้าง แต่การทำงานเป็นทีมอย่างเดียวก็ไม่ใช่สิ่งที่บอกถึงความสำเร็จ เพราะในงานบางอย่างก็ไม่เหมาะสมที่จะทำเป็นทีม ในการทำงานเป็นทีมนั้นสมาชิกทุกคนควรจะต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือมีเป้าหมายไปในทางเดียวกัน และสมาชิกมีการระดมความคิด ติดต่อสื่อสาร และปรึกษาหารือกันร่วมกัน ก็สามารถทำให้สมาชิกที่แตกต่างกันมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันและมีทิศทางในการปฏิบัติร่วมกันได้ ถึงแม้ว่าวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์อาจจะต่างกัน ซึ่งจะทำให้งานเป็นระบบระเบียบในทิศทางเดียวกัน และไม่ต้องสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ และการกระจายอำนาจในการทำงานนั้นจะต้องมีการจัดระเบียบความคิดของสมาชิกแต่ละคนเสียก่อน หากความคิดและพฤติกรรมของแต่ละคนอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงทำให้ระบบไม่สามารถทำงานประสานกันได้ อำนาจที่กระจายไปในตำแหน่งต่าง ๆ นั้นจะเป็นตัวที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง และสามารถตรวจสอบได้จากการปฏิบัติงานของสมาชิกในแต่ละคน ถ้าสมาชิกทุกคนมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้างสรรค์ให้องค์กรมีความก้าวหน้า ผลงานที่ออกมาแสดงถึงประสิทธิผลของงาน
2. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร ถือว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันอย่างหนึ่ง ที่สังคมของการทำงานร่วมกันในองการได้กำหนดขึ้น โดยมีการพัฒนาแนวคิด ความเชื่อ ประเพณีปฏิบัติ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และได้มี่การยึดถือปฏิบัติตามกันในต่อมา ในการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร (Cultural Learning) จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนสิ่งที่ผู้คนในองค์กรประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำว่าเหมาะสมกับทิศทางและกลยุทธ์ขององค์การในระยะสั้น ระยะยาว มาก-น้อย อย่างไร และที่สำคัญจะต้องดำเนินการในประเด็นหลักๆดังนี้
- Unlearn สิ่งใดที่ไม่ดี แต่ยังมีการปฏิบัติอยู่ ก็ควรลดและเลิกให้ได้ในที่สุด
- Learn สิ่งใดที่ดี ควรเรียนรู้ และนำมาปฏิบัติเสียใหม่
- Relearn สิ่งใดที่ดี ควรมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมแล้ว ในมุมหนึ่งของการปฏิบัติสามารถดำเนินได้
- Unfreeze สิ่งใดที่ดีแต่ถูกลืมไม่ได้ปฏิบัติไประยะเวลาหนึ่ง ควรนำกลับมาใหม่
- Freeze สิ่งใดที่ไม่ดี หาหนทางแช่แข็ง
- Refreeze สิ่งใดที่ไม่ดี และะถูกแช่แข็งเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็ควรจะลืมไปเลยว่าเคยมีสิ่งนั้นๆอยู่
กล่าวโดยสรุปแล้วเราสามารถจะเข้าใจและจดจำ และนำมาปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การได้ด้วยหลักการอย่างง่ายๆได้ 2 ส่วน คือ Unlearn/ Learn/ Relearn และ Unfreeze/ Freeze/ Refreeze
ในการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรถือเป็นทักษะสำคัญ ในการที่จะปรับแต่งองค์การให้องค์กรเอื้อต่อการก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่หัวใจอีกส่วนหนึ่งก็คือ องค์ความรู้ และทักษะที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจหรือภารกิจใดๆ องค์ความรู้และทักษะเหล่านี้เป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคลละองค์กรจะต้องเรียนรู้ร่วมกัน อาทิเช่น
การเรียนรู้เชิงกลยุทธ์
การเรียนรู้เชิงระบบ
การเรียนรู้เชิงระบบ
การเรียนรู้ภาวะผู้นำ
การเรียนรู้กระบวนการคิดวิเคราะห์
การเรียนรู้กระบวนงาน
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
การเรียนรู้ความเป็นเจ้าของธุรกิจ
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น