ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 “คุณชายฮีโร่” ยอมเป็นตัวประกันให้กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่านำตัวขึ้น ฮ. ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี…
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” หรือว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ในฐานะรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (พระโอรสใน จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) และหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ณ ถลาง) “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ มีชื่อเล่นว่า “คุณชายหมู”
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ สมรสกับคุณนุชวดี บำรุงตระกูล มีบุตรคือ หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร และสมรสกับ คุณสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (ภมรบุตร) มีบุตรคือ หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร
ปัจจุบัน “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ พำนักอยู่ที่วังสวนผักกาด และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
การศึกษา
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน Cheam (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าโรงเรียน) และโรงเรียน Rugby ประเทศอังกฤษ (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้า House หรือสี และได้รับทุนการศึกษาเรียนดีเด่น) (พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2513)
ระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 และปริญญาโท ณ Pembroke College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เกียรตินิยม สาขา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE) (พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2520)
ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกาทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2521)
ประวัติการทำงาน
- รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2539
- เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2536)
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534) และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะ กรรมาธิการกิจการรัฐสภา (พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534)
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2532)
- เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2536)
- เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพาณิชย์ฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-เวียดนาม เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เวียดนาม (พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536)
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-กัมพูชา-ลาว เพื่อศึกษาและเสนอแนะ แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-กัมพูชา-ลาว
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดร.พิจิตต รัตตกุล) ในคณะกรรมการต่างๆ คือ
1. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาด
3. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในวงราชการกรุงเทพมหานคร
- กรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการยุติธรรม
การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
- ประธานมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ถึงปัจจุบัน)
- เป็นกรรมการหรือสมาชิกของสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง รวมถึง THE ASIA SOCIETY
แห่งนครนิวยอร์ก และ สถาบันยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษาแห่งกรุงลอนดอน
- กรรมการบริหารของสถาบันพระปกเกล้า (ปี 2544 ถึง ปัจจุบัน)
- อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาหรือหลักสูตรของหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ เช่น กองทัพ
กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจ กรุงเทพมหานคร
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบียแห่งนครนิวยอร์ก และ มหาวิทยาลัย
จอร์จทาวน์แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี
- วิทยากรบรรยายพิเศษให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยนเรศวร
- สมาชิก Commission For A New Asia (พ.ศ. 2537)
เกียรติประวัติ
ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยผู้นำระดับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยนิตยสาร TIME ในปี พ.ศ. 2538
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2524 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบราชตระกูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์
พ.ศ.2529 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2531 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2535 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2540 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ.2541มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม)
พ.ศ. 2542 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ผลงานวิชาการ
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีผลงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมากมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อีกทั้งได้มีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติหลาย คน อาทิ Professor Robert Scalapino
งานเขียนอื่น ๆ : เคยเขียนคอลัมน์ประจำให้แก่ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ และ หนังสือพิมพ์แนวหน้า เคยเขียนคอลัมน์รับเชิญให้แก่นิตยสารต่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง Far Eastern Economic Review, The International Herald Tribune, The Asian Wall Street Journal
การลงนามในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543 บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังเกิดกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในเอกสารแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศไทยโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เกิดการโจมตี มรว.สุขุมพันธุ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ที่ระบุให้การจัดทำหลักเขตแดนยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (ค.ศ. 1904) เป็นแนวทาง โดยไม่ระบุ แผนที่แอล 7017 ของ สหรัฐอเมริกา ที่ ไทยใช้อ้างอิง ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ก่อนการลงนามของนายนพดล ปัทมะ เรื่องดังกล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้ชี้แจงว่าการระบุถึงแผนที่ ค.ศ. 1904 เป็นการระบุประกอบเอกสารหลักคือ อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ซึ่งแผนที่จะขัดหรือแย้งไม่ได้ การลงนามในปี พ.ศ. 2543 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศแต่อย่างใด
การเมือง
หม่อมราชวงศ์ผู้มีประสบการณ์การทำงานที่ยังคงอยู่ในความประทับใจของใครหลายคนเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
เกิดเหตุการณ์ “วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542“ ขณะที่กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่า บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า ประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทรเหนือ และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน หลังการเจรจาต่อรองเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้ก่อการร้ายยินยอมปล่อยตัวประกัน แลกกับให้ทางการไทยจัดเฮลิคอปเตอร์ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชายแดนไทย-พม่า
ในที่สุด “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น กลายเป็นฮีโร่ในพริบตา หลังจากที่ได้เสนอตัวเป็นตัวประกันแลกกับเจ้าหน้าที่สถานทูต โดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ทำให้เหตุการณ์ครั้งนั้นยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติของ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” ที่ยังคงจารึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ความกล้าหาญของฝ่ายบริหารประเทศ
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2537 และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคนำไทย
ต่อมา “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สัมพันธวงศ์ สาทร แขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ) เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ 2544
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือ ครม.เงาขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเงา
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการบริหารพรรค มีมติส่ง “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ซึ่งปรากฏว่า “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยได้ “934,602 คะแนน” แม้จะยังไม่ประกาศผลรับรองอย่างเป็นทางการ…
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร” หรือว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ในฐานะรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นบุตรของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (พระโอรสใน จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) และหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ณ ถลาง) “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ มีชื่อเล่นว่า “คุณชายหมู”
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ สมรสกับคุณนุชวดี บำรุงตระกูล มีบุตรคือ หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร และสมรสกับ คุณสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (ภมรบุตร) มีบุตรคือ หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร
ปัจจุบัน “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ พำนักอยู่ที่วังสวนผักกาด และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์
การศึกษา
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน Cheam (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าโรงเรียน) และโรงเรียน Rugby ประเทศอังกฤษ (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้า House หรือสี และได้รับทุนการศึกษาเรียนดีเด่น) (พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2513)
ระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 2 และปริญญาโท ณ Pembroke College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เกียรตินิยม สาขา ปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (PPE) (พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2520)
ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกาทางด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2521)
ประวัติการทำงาน
- รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2539
- เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2536)
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534) และตำแหน่งที่ปรึกษาคณะ กรรมาธิการกิจการรัฐสภา (พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534)
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) (พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2532)
- เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2536)
- เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพาณิชย์ฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ (พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-เวียดนาม เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เวียดนาม (พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536)
- ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-กัมพูชา-ลาว เพื่อศึกษาและเสนอแนะ แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-กัมพูชา-ลาว
- เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดร.พิจิตต รัตตกุล) ในคณะกรรมการต่างๆ คือ
1. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการสำนักงานตลาด
3. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในวงราชการกรุงเทพมหานคร
- กรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายและการยุติธรรม
การดำรงตำแหน่งอื่นๆ
- ประธานมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ถึงปัจจุบัน)
- เป็นกรรมการหรือสมาชิกของสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง รวมถึง THE ASIA SOCIETY
แห่งนครนิวยอร์ก และ สถาบันยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษาแห่งกรุงลอนดอน
- กรรมการบริหารของสถาบันพระปกเกล้า (ปี 2544 ถึง ปัจจุบัน)
- อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษาหรือหลักสูตรของหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ เช่น กองทัพ
กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจ กรุงเทพมหานคร
- อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบียแห่งนครนิวยอร์ก และ มหาวิทยาลัย
จอร์จทาวน์แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี
- วิทยากรบรรยายพิเศษให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยนเรศวร
- สมาชิก Commission For A New Asia (พ.ศ. 2537)
เกียรติประวัติ
ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยผู้นำระดับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยนิตยสาร TIME ในปี พ.ศ. 2538
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2524 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบราชตระกูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์
พ.ศ.2529 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2531 ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2535 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2540 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ.2541มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม)
พ.ศ. 2542 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
ผลงานวิชาการ
รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีผลงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมากมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อีกทั้งได้มีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติหลาย คน อาทิ Professor Robert Scalapino
งานเขียนอื่น ๆ : เคยเขียนคอลัมน์ประจำให้แก่ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ และ หนังสือพิมพ์แนวหน้า เคยเขียนคอลัมน์รับเชิญให้แก่นิตยสารต่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง Far Eastern Economic Review, The International Herald Tribune, The Asian Wall Street Journal
การลงนามในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543
ในปี พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นายชวน หลีกภัยนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543 บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังเกิดกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในเอกสารแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศไทยโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เกิดการโจมตี มรว.สุขุมพันธุ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ที่ระบุให้การจัดทำหลักเขตแดนยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (ค.ศ. 1904) เป็นแนวทาง โดยไม่ระบุ แผนที่แอล 7017 ของ สหรัฐอเมริกา ที่ ไทยใช้อ้างอิง ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ก่อนการลงนามของนายนพดล ปัทมะ เรื่องดังกล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้ชี้แจงว่าการระบุถึงแผนที่ ค.ศ. 1904 เป็นการระบุประกอบเอกสารหลักคือ อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ซึ่งแผนที่จะขัดหรือแย้งไม่ได้ การลงนามในปี พ.ศ. 2543 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศแต่อย่างใด
การเมือง
หม่อมราชวงศ์ผู้มีประสบการณ์การทำงานที่ยังคงอยู่ในความประทับใจของใครหลายคนเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
เกิดเหตุการณ์ “วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542“ ขณะที่กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่า บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า ประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทรเหนือ และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน หลังการเจรจาต่อรองเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้ก่อการร้ายยินยอมปล่อยตัวประกัน แลกกับให้ทางการไทยจัดเฮลิคอปเตอร์ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชายแดนไทย-พม่า
ในที่สุด “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น กลายเป็นฮีโร่ในพริบตา หลังจากที่ได้เสนอตัวเป็นตัวประกันแลกกับเจ้าหน้าที่สถานทูต โดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ทำให้เหตุการณ์ครั้งนั้นยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติของ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” ที่ยังคงจารึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ความกล้าหาญของฝ่ายบริหารประเทศ
“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2537 และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคนำไทย
ต่อมา “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สัมพันธวงศ์ สาทร แขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ) เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ 2544
ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือ ครม.เงาขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเงา
ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการบริหารพรรค มีมติส่ง “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ซึ่งปรากฏว่า “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยได้ “934,602 คะแนน” แม้จะยังไม่ประกาศผลรับรองอย่างเป็นทางการ…
เหตุผลที่เลือก“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เนื่องจากท่านมีความกล้าหาญ เป็นบุคคลที่มีอัธยาศัยดีมีการยิ้มแย้มแจ่มใส ในสมัยที่ดิฉันเรียนชั้นมัธยมตอนปลายได้เรียนยังโรงเรียนที่ราชวงศ์ของท่านเป็นผู้ก่อตั้งและอุปถัมภ์ให้การช่วยเหลือ และในทุกๆปีท่านก็จะมาที่โรงเรียนเสมอ ยิ่งตอนรับประกาศนียบัตรท่านก็จะมาเป็นประธานในพิธีมอบทุกๆปีเสมอ จึงเป้นสาเหตุและเหตุผลที่ดิฉันเลือก“ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร“ เป็นบุคลในดวงใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น